วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จุดประสงค์รายวิชา

จุดประสงค์รายวิชา
            1. รู้วิธีทำธุรกิจขนาดเล็กที่เกี่ยวกับงานคอมพิวเตอร์
            2. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพคอมพิวเตอร์
            3. มีกิจนิสัยและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์

มาตรฐานรายวิชา

มาตรฐานรายวิชา
            1. ประเภทและรูปแบบของธุรกิจขนาดเล็ก
            2. สร้างสรรค์งานอาชีพทางคอมพิวเตอร์

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา
            ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ รู้วิธีทำธุรกิจที่เกี่ยวกับงานคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
โดยบูรณาการจากความรู้ที่ได้ศึกษามา เช่น งานผลิต เอกสาร งานพัฒนาเว็บเพจ งานบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
งานดูแลระบบ

บทที่1 ธุรกิจขนาดย่อม

ธุรกิจขนาดย่อม
          ธุรกิจขนาดย่อม (Small and Medium Interprises : SMEs) หมายถึง ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เกิดจากการผลิตสินค้าหรือบริการที่มาจากทักษะที่หลากหลาย มีกระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้น ๆ โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดโลก ขั้นตอนการผลิตจะใช้วัตถุดิบในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลผลิตของสินค้าหรือบริการนั้นต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ใช้เงินทุนในการประกอบการไม่สูง อยู่ในระดับที่สถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถรองรับได้ ปัจจุบันทางภาครัฐได้ให้ความสนใจธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางนี้มาก โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางอย่างชัดเจน
ลักษณะที่ดีของธุรกิจขนาดย่อม
          1. สามารถทำรายได้จากดอลลาร์โซนได้ หมายถึง เป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศได้
          2. เป็นธุรกิจที่พึ่งตนเองได้ หมายถึง เป็นธุรกิจที่มีตลาดขายสินค้าเป็นของตนเอง มีความหลากหลายโดยไม่ต้องอาศัยการสั่งซื้อจากโรงงานขนาดใหญ่
          3. มีความว่องไวในการปรับตัว
          4. ใช้เงินทุนในการประกอบการไม่สูง
          5. เป็นธุรกิจที่ใช้ทักษะในการผลิต
          6. ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ หมายถึงวัตถุที่ใช้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบภายในประเทศ
          7. ผลผลิตมีคุณภาพ หมายถึง การผลิตสินค้าต้องเน้นที่คุณภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลระดับโลก
          8. เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน หมายถึง เป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่ในชุมชน มีการบริหารจัดการภายในครอบครัว
ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม
          1. ธุรกิจอุตสาหกรรม
          2. ธุรกิจพาณิชยกรรม
          3. ธุรกิจบริการ
           ธุรกิจอุตสาหกรรม หมายถึง ธุรกิจที่มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยมีการนำวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เพื่อแปรรูปเป็นสินค้าตาที่ต้องการ ถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิต ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก จำนวนการผลิตมีปริมาณสูง ประเภทส่วนประกอบในการผลิตที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการสั่งซื้อจากธุรกิจขนาดย่อม ดังนั้นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการผลิตที่เป็นอิสระ มีโอกาสผลิตสินค้าให้กับผู้ผลิตรายอื่น ๆ มากที่สุด เช่น โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ต้องอาศัยน็อตจากโรงงานขนาดย่อม โรงงานผลิตตู้เย็นและตู้แช่ ต้องซื้อโครงตู้พลาสติก เป็นต้น
ธุรกิจบริการ  หมายถึง ธุรกิจที่มีการเสนอการบริการที่มีความแตกต่างกันไปแต่ละประเภท เช่น ช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่มีทั้งภาครัฐและเอกชน และไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ลักษณะของธุรกิจประเภทนี้มักเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีการลงทุนน้อย มีผู้ดำเนินการธุรกิจเพียงคนเดียว เช่น ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ ร้านซ่อมนาฬิกา เป็นต้น
            ธุรกิจพาณิชยกรรม หมายถึง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าคนกลางที่อยู่ในช่วงของการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือผู้ค้าปลีกและส่ง  ที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสหกรณ์ ร้านขายของชำ เป็นต้น
ลักษณะโดยทั่วไปของธุรกิจขนาดย่อม
            1. เครื่องจักร เครื่องมือใช้เทคโนโลยีไม่สูง จะใช้เครื่องจักร เครื่องมือในระดับต้นถึงระดับกลาง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง
จักรที่อาจใช้เทคโนโลยีสูง ทำให้ไม่ต้องเสียเงินมากในการจัดซื้อเครื่องมือ
            2. ใช้เงินลงทุนน้อย   สามารถดำเนินการได้กว้าง เพราะประกอบด้วยธุรกิจทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม รวมถึงการบริการต่าง ๆ จะทำให้เกิดการลงทุนน้อยในบางธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจขนาดย่อมอาจเป็นการใช้แรงงานของสมาชิกภายในครัวเรือนหรือพี่น้องกัน ซึ่งจะเกิดผลเสียคือ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องทำงานหนักอาจจะทำหน้าที่ผู้บริการจนกระทั่งเป็นแรงงานเอง แต่ก็มีผลดีคือ ผู้เป็นเจ้าของหรือธุรกิจภายในครอบครัว สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและฉับไว
            3. ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดย่อมสามารถใช้ฝีมือที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพราะว่าผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนส่วนตัวมาก ทำให้ผู้ประกอบการมีขวัญและกำลังใจในการบริการดี
            4. มีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ไม่ยุ่งยากในการประสานงานและแบ่งหน้าที่
กันดำเนินงานภายในบริษัท ทำให้การดำเนินงานบางอย่างสามารถลัดขั้นตอนได้ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ส่งผลให้การบริหารงานภายในองค์การประสบสำเร็จมีกำไรมาก
            5. ตลาดอยู่ทั่วไปในภูมิภาค การประกอบธุรกิจขนาดย่อม สามารถดำเนินการได้ทั่วไปทุก ๆ พื้นที่ในภูมิภาค แล้วแต่ความเหมาะสมและความต้องการของประชากรในชุมชนนั้น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและไกลออกไป

บทบาทของธุรกิจขนาดย่อม
            1. การกระจายการพัฒนาไปสู่ส่วนภูมิภาค ทำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคดีขึ้น ประชาชนไม่ต้องเดินทางเข้ามาหางานในกรุงเทพฯ สามารถทำงานอยู่ในพื้นที่ที่มีธุรกิจขนาดย่อมเกิดขึ้น ทำให้ประหยัดรายจ่าย สุขภาพจิตดี ครอบครัวมีความอบอุ่น มลภาวะที่เป็นพิษต่าง ๆ ลดลง
            2. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพนั้น จะก่อให้เกิดกำไรมากขึ้น
            3. ช่วยให้ประชากรในประเทศมีงานทำ การดำเนินธุรกิจย่อมเกิดขึ้นมาก ทำให้ประชากรภายในประเทศมีงานทำ ทำให้ไม่เป็นภาระของรัฐบาล
            4. พัฒนาความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจ คือ เป็นการพัฒนาบุคลากรของประเทศชาติให้มีความเข้มแข็งขึ้น เป็นบุคคลที่มีคุณภาพสามารถดำเนินการประกอบธุรกิจและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นนักบริหารและนักจัดการที่มีฝีมือดีพอสมควร
            5. ก่อให้เกิดการระดมเงินทุน จะเห็นได้จากการให้การสนับสนุนในการระดมเงินทุนหรือการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากธุรกิจบางประเภทจะมีการถือหุ้นของพนักงานหรือประชาชนโดยทั่วไป ตลอดจนรัฐบาลได้ให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เช่น ภาษี และการจัดพื้นที่สำหรับจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
องค์ประกอบของธุรกิจขนาดย่อม
            1. คน ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการจัดตั้งสถานประกอบการ เพราะในการดำเนินการทุกอย่าง คนต้องเป็นหลักในการที่จะทำให้เกิดธุรกิจและบริการ ต้องอาศัยคนในการควบคุม ต้องอาศัยสมองคนในการดำเนินการโฆษณาและขายสินค้าออก โดยการวางแผนให้ได้กำไรมากที่สุด
            2. เงิน ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในทั่วโลกว่ามีความสำคัญ นอกจากจะมีคนเป็นหลักแล้ว เงินเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้คนมีความกระตือรือร้น ขยันทำงาน เช่น การให้สวัสดิการต่าง ๆ การให้เงินแก่พนักงานในการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
            3. เครื่องมือเครื่องจักร ในบางครั้งการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและได้จำนวนมาก ๆ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องจักรในการผลิต การผลิตจากฝีมือคนจะได้มาตรฐานที่ไม่เท่ากัน แต่การผลิตโดยเครื่องจักรแล้วจะได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน
            4. วัตถุดิบ ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้า เพราะสินค้าจะมีคุณภาพดีจะต้องได้วัตถุดิบที่ดี
            5. การจัดการ คุณภาพสินค้าเท่า ๆ กันแต่ต้นทุนการผลิตอาจจะแตกต่างกัน เพราะการบริหารจัดการในการเพิ่มผลผลิต หรือใช้หลักการสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตแทนระบบการผลิตสิ้นค้าแบบเดิม ๆ
            6. การตลาดถือได้ว่าเป็นส่วนของผู้บริโภคสินค้าที่ผลิตออกมา เทคนิคในการทำการตลาดนั้นมีมากมายหลายวิธี แต่การ
ตลาดจะดำเนินการประสบผลสำเร็จเพียงใดนั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ สินค้าต้องมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของประชาชน
            7. ขวัญและกำลังใจ จะต้องหมั่นสังเกตดูพนักงานในโรงงานและบริษัทว่ามีความต้องการสิ่งใด ถ้าความต้องการเน้นเป็นสิ่งที่บริษัทจัดหาได้แล้วทำให้การเพิ่มผลผลิตภายในบริษัทมากขึ้น และเป็นที่ต้องการของพนักงานภายในบริษัทหรือธุรกิจขนาดย่อม ก็ควรที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน
             คำถามท้ายบท
1. การประกอบธุรกิจขนาดย่อมจะต้องมีการดำเนินงานในเรื่องใด
. การผลิต
ข. การซื้อ
ค. การขาย
ง. ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การ
ก. จัดอุปกรณ์การทำงานให้ครบ
ข. ฝึกอบรมพนักงาน
ค. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
ง. ถูกทุกข้อ
3. ข้อใดไม่ใช่ธุรกิจขนาดย่อม
ก. โรงงานกลั่นน้ำมันบางอ้อ
ข. โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์รุ่งรัตน์
ค. อู่ซ่อมเฮียจวง
ง. ร้านตัดผมสุดสวย
4. ข้อใดคือความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อมที่มีต่อสังคมและธุรกิจของประเทศ
ก. เป็นแหล่งนันทนาการ
ข. เป็นแหล่งพัฒนาคน
ค. เป็นแหล่งพัฒนาความรู้
ง. เป็นแหล่งจ้างงาน
5. ปัญหาใดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม
ก. ยอดการขายลด
ข. การแข่งขันรุนแรงขึ้น
ค. เลือกทำเลไม่เหมาะสม
ง. ถูกทุกข้อ
6. ข้อใดเป็นความจริง
ก. ธุรกิจขนาดย่อมประสบผลสำเร็จมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ข. ธุรกิจขนาดย่อมสามารถพัฒนาตนเองเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้
ค. ธุรกิจขนาดย่อมผลิตสินค้าได้ปริมาณน้อย แต่คุณภาพสูง
ง. ธุรกิจขนาดย่อมมีระบบการบริหารงานที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ
7. การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมมีข้อดีอย่างไร
ก. พนักงานน้อยแต่มีคุณภาพ
ข. ดำเนินการคล่องตัว มีอิสระ
ค. เงินทุนน้อยมีความน่าเชื่อถือ
ง. ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดชอบงานทั้งหมด
8. ข้อใดคือธุรกิจขนาดย่อมประเภทบริการ
ก. โรงงานเครื่องปั้นดินเผา
ข. ร้านตัดเสื้อ
ค. ร้านขายของชำ
ง. ถูกทุกข้อ
9. อุปสรรคของการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมที่ผู้ประกอบธุรกิจป้องกันได้น้อยที่สุด คือข้อใด
ก. ทำเลไม่เหมาะสม
ข. ยอดการขายลด
ค. ภาวะการแข่งขันรุนแรง
ง. ภัยพิบัติ
10. ข้อใดเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของการดำเนินงานของธุรกิจขนาดย่อม
ก. คล่องตัวในการบริหารงานมากเกินไป
ข. ครอบครองเฉพาะตลาดในท้องถิ่น
ค. บุคลากรน้อย
ง. เงินทุนน้อย

บทที่2 การผลิตนามบัตร

การผลิตนามบัตร
นามบัตร (Name Card) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัวเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกัน
ทางธุรกิจ
การออกแบบโครงร่างของนามบัตร
            ในการผลิตนามบัตร สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การออกแบบโครงร่างของนามบัตรไว้ก่อน  โดยทั่ว ๆ ไป นามบัตรจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
            1. ชื่อ นามสกุล ภาษาไทย
            2. ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษ
            3. ตำแหน่ง
            4. โลโก้บริษัท
            5. ชื่อบริษัท
            6. ที่อยู่บริษัท
            7. หมายเลขโทรศัพท์
            8. หมายเลขโทรสาร
การจัดทำนามบัตรด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2007
            1. เข้าสู่โปรแกรม Microsoft Word 2007 โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start ----> Program----> Microsoft Word 2003
     2. เลือกคำสั่งแฟ้ม -----> ตั้งค่าหน้ากระดาษ
  3. ปรับระยะขอบทุก ๆ ด้านโดยให้ปรับขนาด 1 นิ้ว ทุก ๆ ด้าน หรือตามความต้องการ
4. เลือกคำสั่ง แทรก -----> กล่องข้อความ  จะเกิดกล่องข้อความขึ้นมา  ปรับขนาดตามต้องการก่อน โดยให้ปรับขนาด 1 นิ้ว ทุก ๆ ด้าน หรือตามความต้องการ
5. เมื่อเราปรับขนาดเรียบร้อยแล้ว  ก็สามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปในด้านในหรือแทรกรูปภาพก็ได้ตามโครงร่างนามบัตรที่ออกแบบไว้
  6. ใช้คำสั่ง copy กล่องข้อความที่เป็นนามบัตร ที่ได้สร้างขึ้น  และไปคลิกเมาส์บนพื้นที่ว่าง  แล้วใช้คำสั่ง paste  จัดเรียงกล่องข้อความที่เราได้ paste ตามต้องการ
การเปลี่ยนทิศทางของข้อความในกล่องข้อความ
            ข้อความในกล่องข้อความโดยปกติถูกวางในแนวนอน  ถ้าต้องการเปลี่ยนให้อยู่ในแนวตั้ง  ทำได้โดยใส่ข้อความลงในกล่องข้อความ  แล้วทำการเปลี่ยนทิศ
         เลือกเมนู  รูปแบบ -----> ทิศทางข้อความ 
   จะปรากฏเมนูย่อยเพื่อให้เลือกทิศทางข้อความ
เลือกทิศทางของข้อความที่ต้องการ  แล้วกดปุ่ม  ตกลง  จะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
ารใส่ภาพตัดปะ (Clip Art)
            ภาพตัดปะเป็นภาพสำเร็จที่สามารถนำมาใช้ได้เลย  โดยโปรแกรม  Microsoft office              ได้จัดแยกภาพเหล่านี้ออกเป็นหมวดหมู่  โดยมี  Clip Organizer  เป็นตัวจัดการภาพตัดปะเหล่านั้น  ทำให้สะดวกในการค้นหาภาพที่ต้องการ
          คำถามท้ายบท
1.  นามบัตร  หมายถึงอะไร
            ก.  สิ่งพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัว เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ
            ข.  สิ่งพิมพ์ที่ใช้อย่างเป็นทางการ
            ค.  เอกสารที่ใช้แสดงตัวบุคคล
            ง.  เอกสารที่ใช้แสดงที่อยู่ บอกเกี่ยวกับสถานะ
2.  ประโยชน์ของนามบัตร คืออะไร
            ก.  ใช้สื่อสาร
            ข.  ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัว
            ค.  ใช้ติดต่อธุรกิจ
            ง.   ถูกทุกข้อ
3.  ในการผลิตนามบัตร สิ่งแรกที่ต้องทำคืออะไร
            ก.  จัดทำนามบัตรด้วยโปรแกรม
            ข.  ออกแบบโครงร่างของนามบัตร
            ค.  ใส่ภาพตัดปะ
            ง.   ปรับขนาดของนามบัตร
4.  ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของนามบัตร
            ก.  ชื่อ นามสกุล
            ข.  ชื่อบริษัท
            ค.  ตำแหน่ง
            ง.  รูปภาพ
5.  การเปลี่ยนทิศทางของข้อความในกล่องข้อความ ใช้คำสั่งอะไร
            ก.  รูปแบบ----->การตั้งค่าหน้ากระดาษ
            ข.  รูปแบบ----->ทิศทางของข้อความ
            ค.  รูปแบบ----->รูปภาพ
            ค.  รูปแบบ----->กล่องข้อความ
6.  การใส่ภาพตัดปะจะใช้คำสั่งอะไร
            ก.  แทรก----->ภาพตัดปะ
            ข.  แทรก----->รูปร่าง
            ค.  แทรก----->รูปภาพ
            ง.  แทรก----->ตาราง
7.  ตัวเลือกเมนูย่อย ทิศทางข้อความในกล่องข้อความ มีกี่ตัวเลือก
            ก.  2  ตัวเลือก
            ข.  3  ตัวเลือก
            ค.  4  ตัวเลือก
            ง.   5  ตัวเลือก
8.  ข้อใดเป็นข้อมูลในนามบัตร
            ก.  รูปภาพ
            ข.  ข้อความ
            ค.  ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
            ง.  ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
9.  การจัดทำนามบัตรด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2007 การกำหนดกระดาษที่พิมพ์ใช้คำสั่งอะไร
            ก.  รูปแบบ----->ตาราง
            ข.  รูปแบบ----->การตั้งค่าหน้ากระดาษ
            ค.  แฟ้ม---->การตั้งค่าหน้ากระดาษ
            ง.  แทรก----->การตั้งค่าหน้ากระดาษ
10.  การกำหนดขนาดของนามบัตรใน Microsoft Word 2007 ใช้คำสั่งอะไร
            ก.  รูปแบบ----->กล่องข้อความ
            ข.  รูปแบบ----->ตาราง
            ค.  แทรก----->ตาราง
            ง.  แทรก----->กล่องข้อความ


 

บทที่3 การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา

การผลิตแผ่นป้ายโฆษณา
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ (Poster) เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์ เพราะแผ่นป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง  เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่  สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา  มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ สามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระ  เพื่อโน้มน้าวความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของแผ่นป้ายโฆษณา
            แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์  (Poster)  หมายถึงแผ่นป้ายที่สามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้
            1 .แผ่นป้ายโฆษณาต้องเป็นแผ่นเดียว สามารถติดลงบนพื้นผิวประเภทใดก็ได้
            2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
            3. ใช้สำหรับปิดไว้ในที่สาธารณะ
            4. สามารถผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากได้
ลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณา
            การออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์ให้มีลักษณะโดดเด่น เร้าใจมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีขอบเขต ดังนั้นการวางแผนการผลิตจึงเป็นไปอย่างคล่องตัว มีแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น  มีการเน้นความแปลกตา สวยงาม ซึ่งลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาควรสนองแนวคิด 5 ประการ ดังนี้
            1. ตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
            2. มีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม
            3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอต้องสอดคล้อง สัมพันธ์กัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน
            4. สามารถเข้าใจได้ง่าย ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
            5. มีความกะทัดรัด แสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียว
ข้อดี-ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
            ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณา
            1. ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ได้
            2. มีความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง หรือบริเวณที่ต้องเดินผ่านไปมาเสมอ
            3. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
            4. ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล
            5. ข้อความที่กะทัดรัด ทำให้เกิดความสนใจและเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการจดจำ
            ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณา
            1. การนำเสนอข้อมูลมีข้อจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่น ๆ
            2. การติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับความสนใจน้อย
            3. การผลิตจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก
            4. เป็นการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
การออกแบบโครงร่างแผ่นป้ายโฆษณา
            ในการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณานั้น ควรทำการออกแบบโครงร่างไว้ก่อน ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการออกแบบฌโครงร่าง คือ ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
            1. ข้อมูลบริษัท หรือหน่วยงาน ได้แก่
                 โลโก้
                 ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                 ที่อยู่
                 หมายเลขโทรศัพท์
                 หมายเลขโทรสาร
                 E-Mail Address
            2. ข้อความโฆษณาเชิญชวนให้ทราบ
                        หลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา
            การกำหนดขนาดของแผ่นป้ายโฆษณา
            ขนาดของแผ่นป้ายโฆษณามีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโฆษณา โดยทั่วไปขนาดของแผ่นป้ายโฆษณาที่นิยมใช้งานมี 2 ขนาด ดังนี้
            1. ขนาด 31 x 43 นิ้ว หรือ 24 x 35 นิ้ว
            2. ขนาด 10 x 21 นิ้ว หรือ 24 x 11.5 นิ้ว
การกำหนดรูปภาพประกอบของแผ่นป้ายโฆษณา
            รูปภาพประกอบในแผ่นป้ายโฆษณา ได้แก่ รูปภาพจากการถ่ายภาพ รูปภาพจากการวาดเขียนระบายสี ซึ่งแนวคิดในการออกแบบรูปภาพ คือ การกำหนดขนาดของรูปภาพ กำหนดเรื่องราวของรูปภาพ กำหนดรูปแบบของรูปภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์รูปภาพ โครงสีในรูปภาพ ความสวยงาม ความคมชัด การวางตำแหน่งรูปภาพที่เหมาะสมเป็นการสร้างจุดสนใจได้ดี วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวางรูปภาพไว้ตรงกลาง ซึ่งเป็นบริเวณจุดศูนย์กลางความสนใจในการมอง (Optical Center)
             Herman F. Brandt ได้ทำการศึกษาถึงจุดสนใจของตำแหน่งที่เด่นที่สุดในภาพ จากการมองในกรอบสี่เหลี่ยมของขนาดกระดาษ ได้ผลสรุปจุดสนใจในการมองของคนเรา
            คำถามท้ายบท
1.แผ่นป้ายโฆษณา หมายถึงอะไร
            ก.  แผ่นป้ายที่มีการนำเสนอที่ไม่ต้องสอดคล้องกัน
            ข.  แผ่นป้ายที่มีการแสดงแนวคิดหลัก หลาย ๆ อย่าง
            ค.  แผ่นป้ายที่สามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก
            ง.  แผ่นป้ายที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง
2.  ข้อใดคือองค์ประกอบของแผ่นป้ายโฆษณา
            ก.  ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
            ข.  ใช้สำหรับปิดไว้ในที่สาธารณะ
            ค.  แผ่นป้ายต้องเป็นแผ่นเดียว สามารถติดลงบนพื้นผิวประเภทใดก็ได้
            ง.  ถูกทุกข้อ
3.  ลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาคืออะไร
            ก.  ตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
            ข.  รูปภาพกับข้อความที่นำเสนอไม่ต้องสอดคล้องกันก็ได้
            ค.  ข้อความที่ใช้อาจมีความหลากหลาย
            ง.  ไม่ต้องเน้นความแปลกตา ความสวยงาน มากเกินไป
4.  ตัวอย่างข้อมูลบริษัทที่ควรมีในแผ่นป้ายโฆษณาได้แก่อะไร
            ก.  ตำแหน่ง
            ข.  ชื่อบริษัท
            ค.  หมายเลขโทรศัพท์
            ง.  ถูกทั้ง ข. และ ค.
5.  แผ่นป้ายโฆษณาที่นิยมใช้งานมีกี่ขนาด
            ก.  2  ขนาด
            ข.  3  ขนาด
            ค.  4  ขนาด
            ง.  5  ขนาด
6.  ตัวอักษรขนาดเล็กในแผ่นป้ายโฆษณาใช้สำหรับอะไร
            ก.  ข้อความพาดหัว
            ข.  ข้อความรายละเอียดที่เสนอเนื้อหาสาระ
            ค.  ข้อความรองพาดหัว
            ง.  ข้อความที่น่าสนใจ
7.  การวางตำแหน่งรูปภาพในจุดใด เป็นจุดที่น่าสนใจที่สุด
            ก.  บน
            ข.  กลาง
            ค.  ล่าง
            ง.  จุดใดก็ได้
8.  ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณาคืออะไร
            ก.  สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
            ข.  ข้อความกะทัดรัด เป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดการจดจำ
            ค.  สามารถเลือกติดตั้งเฉพาะพื้นที่ได้
            ง.  ถูกทุกข้อ
9.  สีข้อความที่เน้นความเร้าร้อน คือสีใด
            ก.  แดง
            ข.  ส้ม
            ค.  เหลือง
            ง.  ถูกทั้ง ก. และ ข.
10.  ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณาคืออะไร
            ก.  ติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับความสนใจน้อย
            ข.  เสียค่าใช้จ่ายน้อย
            ค.  ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล
            ง.  การผลิตไม่จำเป็นต้องใช้ความละเอียด